IP Address (Internet Protocol Address) คืออะไร?

M. Kannika
3 min readJan 24, 2022

--

อันดับแรกมารู้จักกับหมายเลข IP กันก่อน

IP ย่อมาจาก Internet Protocol เป็นหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งจะเป็นหมายเลขที่ไม่สามารถซ้ำกันได้

หมายเลข IP (ขนาด 32 Bits หรือ IPv4) จะประกอบไปด้วยตัวเลข 4 ชุด คั่นด้วย dot (.)

ตัวอย่าง หมายเลข IP ขนาด 32 Bits

192.168.1.5

แต่ละชุดจะมีขนาด 8 Bits (หรือ 1 Byte)

8 Bits . 8 Bits . 8 Bits . 8 Bits

8×4 = 32 Bits (หรือ 4 Bytes)

แล้วหมายเลข IP ขนาด 32 Bits สามารถมีได้ทั้งหมดกี่หมายเลข?

2⁸ × 2⁸ × 2⁸ × 2⁸ = 256 × 256 × 256 × 256

= 4,294,967,296 หมายเลข

หรือ 2³² = 4,294,967,296 หมายเลข

แต่ทั้งนี้หมายเลข IP ขนาด 32 Bits ก็ยังไม่เพียงพอต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทำให้มีการพัฒนาไปเป็น IPv6 ขนาด 128 Bits

IPv6 (128 Bits):

2¹²⁸ = 340,282,366,920,938,463,463,374,607,431,768,211,456 หมายเลข

ซึ่งเป็นจำนวนที่มหาศาลมากและเพียงพอต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลกไปอีกนาน

ตัวอย่าง หมายเลข IP แบบ 128 Bits (IPv6)

2001:0db8:85a3:0000:0000:8a2e:0370:7334

IPv6 จะใช้รูปแบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal number)

มาตรฐานของหมายเลข IP ที่ใช้กันในปัจจุบัน คือ
IPv4 (Internet Protocol version 4) ขนาด 32 Bits และ
IPv6 (Internet Protocol version 6) ขนาด 128 Bits

IP Address (Internet Protocol Address)

บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือโลกออนไลน์จะใช้ภาษาโปรโตคอลที่ชื่อว่า TCP/IP protocol ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยจะใช้หมายเลข IP เพื่อเป็นที่อยู่ (Address) ของคอมพิวเตอร์ปลายทาง เปรียบเสมือนเป็นบ้านเลขที่หรือหมายเลขโทรศัพท์ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

TCP/IP : Transmission Control Protocol เป็นภาษาโปรโตคอลที่ใช้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
IP : Internet Protocol เป็นหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์

IP Address (IPv4) จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

1. Network Address

เป็นหมายเลข IP สำหรับเครือข่าย ที่ถูกใช้สำหรับ Router

2. Host Address

เป็นหมายเลข IP ของคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายนั้นๆ

การกำหนดหมายเลข IP address จะมีวิธีการกำหนดที่ชัดเจนและกฎเกณฑ์ที่รัดกุมจากองค์กรที่กำกับดูแล

  • ถ้าผู้ใช้ที่ต้องการจัดตั้ง Host คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและบริการต่างๆ สามารถขอหมายเลข IP address ได้ที่หน่วยงาน Internet Network Information Center(InterIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated(NIS) รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ถ้าผู้ใช้ขอสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตจากบริษัทผู้ให้บริการต่างๆ (Internet Service Provider) หรือ ISP ผู้ให้บริการเหล่านั้นจะกำหนดหมายเลข IP address มาให้เอง

IP Address (IPv4) ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ (Class)

ที่ใช้งานโดยทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับ คือ Class A, Class B, และ Class C โดยแบ่งตามขนาดของเครือข่ายหรือองค์กร

ถ้าในเครือข่ายมีเครื่องคอมพิวเตอร ์(Host computer) อยู่เป็นจำนวนมากก็จะใช้ในรูปแบบ Class A ถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์น้อยลงมาก็จะใช้ในรูปแบบ Class B หรือ Class C ลดหลั่นกันตามลำดับ

จำนวนหมายเลขของ Network Address:

1. Class A

มีตัวเลขตั้งแต่ 0.0.0.0 - 127.255.255.255 (7 Bits, โดยอีก 1 Bit สงวนไว้สำหรับเลข 0)

เหมาะสำหรับเครือข่ายหรือองค์กรขนาดใหญ่ มีผู้ใช้งาน (Host Computer) เป็นจำนวนมาก

Class A Network address (7 Bits):

2⁷ = 128 หมายเลข

2. Class B

มีตัวเลขตั้งแต่ 128.0.0.0 - 191.255.255.255 (14 Bits, โดยอีก 2 Bits สงวนไว้สำหรับเลข 10)

เหมาะสำหรับเครือข่ายหรือองค์กรขนาดกลาง

Class B Network address (14 Bits):

2¹⁴ = 16,384 หมายเลข

3. Class C

มีตัวเลขตั้งแต่ 192.0.0.0 - 223.255.255.255 (21 Bits, โดยอีก 3 Bits สงวนไว้สำหรับเลข 110)

เหมาะสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เองภายในเครือข่ายหรือองค์กร

Class C Network address (21 Bits):

2²¹ = 2,097,152 หมายเลข

จำนวนหมายเลขของ Host Address:

1. Class A

มีตัวเลขตั้งแต่ 0.0.0.0 - 127.255.255.255

Class A Host address (24 Bits):

2²⁴ = 16,777,216 หมายเลข

2. Class B

มีตัวเลขตั้งแต่ 128.0.0.0 - 191.255.255.255

Class B Host address (16 Bits):

2¹⁶ = 65,536 หมายเลข

3. Class C

มีตัวเลขตั้งแต่ 192.0.0.0 - 223.255.255.255

Class C Host address (8 Bits):

2⁸ = 256 หมายเลข

เพิ่มเติม

  • Class D มีตัวเลขตั้งแต่ 224.0.0.0 - 239.255.255.255 เป็น class ที่ถูกสงวนไว้สำหรับการใช้งานแบบ Multicasting
  • Class E มีตัวเลขตั้งแต่ 240.0.0.0 - 247.255.255.255 เป็น class ที่ถูกสงวนไว้สำหรับการวิจัยทดลอง (Research purpose) จะไม่ถูกใช้งานโดยทั่วไป

นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งหมายเลข IP Address ออกเป็น 2 เป้าหมายการใช้งาน คือ

• Private IP Address

และ

• Public IP Address

ซึ่งผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Private and Public IP Address

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย อย่าลืมกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ 🙏

--

--

M. Kannika
M. Kannika

No responses yet